สังคมโลก : ทำนายเศรษฐกิจโลก ผลผลิตที่ขยายตัวปี 64 คาดจะเติบโตเพียง 4% ในปีนี้
การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก กำลังเผชิญกับอุปสรรคสำคัญหลายอย่าง ท่ามกลางการระบาดหนักระลอกใหม่ของไวรัสโควิด-19 ความท้าทายยืดเยื้อในตลาดแรงงานและห่วงโซ่อุปทาน และแรงกดดันจากเงินเฟ้อสูงขึ้น
การฟื้นตัวที่แข็งแรงในปี 2564 จากปัจจัยหลัก การใช้จ่ายของผู้บริโภคแข็งแกร่ง การลงทุนสูงขึ้น และการค้าสินค้าสูงผ่านระดับช่วงก่อนเกิดการระบาดของโควิด-19 นับเป็นอัตราเติบโตสูงสุดในรอบกว่า 4 ทศวรรษเลยทีเดียว
แต่กลุ่มประเทศกลไกหลักขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะจีน สหรัฐ และสหภาพยุโรป เศรษฐกิจเชื่องช้าลงมาก ช่วงปลายปี 2564 เนื่องจากผลกระทบจากมาตรการกระตุ้นทางการเงินการคลัง เริ่มอ่อนแรง และเกิดอุปสรรคครั้งใหญ่ในห่วงโซ่อุปทาน นอกจากนั้น แรงกดดันจากเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ในประเทศจำนวนมาก ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการฟื้นตัว
นายอันโตนิโอ กูเตร์เรส เลขาธิการยูเอ็น กล่าวในรายงานตอนหนึ่งว่า ในช่วงเวลาการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ที่เปราะบางและไม่สม่ำเสมอนี้ ยูเอ็นเรียกร้องให้ตั้งเป้าหมาย รวมทั้งนโยบายประสานงานและมาตรการทางการเงินที่ดีกว่า ทั้งระดับประเทศและระหว่างประเทศ
ตอนนี้ถึงเวลาปิดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ ภายในและระหว่างประเทศต่าง ๆ “ถ้าเราทำงานสามัคคี เหมือนครอบครัวเดียวกัน เราสามารถทำให้ปี 2565 เป็นปีแห่งการฟื้นตัวอย่างแท้จริง ทั้งประชาชนและเศรษฐกิจ”
การระบาดระลอกใหม่อย่างรวดเร็วของโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน คาดว่าจะสร้างความสูญเสียต่อชีวิตมนุษย์ และเศรษฐกิจมากขึ้นอีก หากไม่มีความร่วมมืออย่างยั่งยืน ในการควบคุมการระบาด รวมถึงการกระจายวัคซีนอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง การระบาดจะยังคงเป็นภัยคุกคามสูงสุด ต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก
ระดับการจ้างงาน คาดว่าจะยังคงต่ำกว่าช่วงก่อนเกิดการระบาด ในระยะ 2 ปีข้างหน้า หรือนานกว่านั้น อัตราส่วนการเข้าร่วมในกำลังแรงงาน ในสหรัฐและยุโรป จะยังอยู่ในระดับต่ำเป็นประวัติการณ์ เนื่องจากประชาชนจำนวนมากที่ว่างงาน โดยเฉพาะที่ตกงานในช่วงการระบาดของโควิด-19 ยังไม่ได้งานทำใหม่
ภาวะขาดแคลนแรงงาน ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว จะยังคงอยู่ในระดับค่ำกว่าช่วงก่อนเกิดการระบาด ในระยะ 2 ปีข้างหน้า หรืออาจจะนานกว่า ระดับการมีส่วนร่วมในกำลังแรงงาน ในสหรัฐและยุโรป จะยังต่ำเป็นประวัติการณ์ เนื่องจากผู้ว่างงานจำนวนมาก หรือที่ออกจากตลาดแรงงานในช่วงการระบาดของโควิด-19 ยังไม่ได้งานทำใหม่
ภาวะขาดแคลนแรงงาน ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว จะเพิ่มความท้าทายต่อห่วงโซ่อุปทาน และแรงกดดันเงินเฟ้อ ขณะเดียวกัน การเติบโตของการจ้างงาน ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ยังคงอ่อนแอ ท่ามกลางความคืบหน้าต่ำในการฉีดวัคซีน และการใช้จ่ายกระตุ้นเศรษฐกิจมีจำกัด
คาดว่าการจ้างงานในแอฟริกา ลาตินอเมริกาและแคริบเบียน และเอเชียตะวันตก จะฟื้นตัวช้า
หลายประเทศทั่วโลก การสร้างงานใหม่น่าจะไม่เพียงพอชดเชย ตัวเลขว่างงานก่อนหน้านี้ การฟื้นตัวอย่างอ่อนแอของการจ้างงาน จะเป็นหนึ่งในปัจจัย ที่ทำให้จำนวนชาวโลกที่ดำรงชีพด้วยความยากจนสุดขีด ยังอยู่เหนือระดับช่วงก่อนเกิดโควิด-19 คาดว่าอัตราความยากจนจะสูงขึ้นอีก ในบรรดาประเทศเศรษฐกิจเปราะบางมากที่สุด โดยเฉพาะทวีปแอฟริกา คาดว่าความยากจนจะสูงขึ้น จนถึงสิ้นปี 2566
ความเหลื่อมล้ำในระดับสูงกว่า ภายในและระหว่างประเทศต่าง ๆ กลายเป็นรอยแผลเป็นระยะยาวของการระบาด ในระยะไม่กี่ปีข้างหน้า การฟื้นตัวอย่างเต็มที่ ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อหัว จะยังเป็นไปได้ยากในประเทศกำลังพัฒนาจำนวนมาก
การอ่านที่เกี่ยวข้อง
- ขับเคลื่อนความอัจฉริยะของอุตสาหกรรมมาตรวัดไฟฟ้าในอินเดีย
- เลขาธิการอาเซียน ชื่นชมอาคารแสดงประเทศไทย ดีอีเอส จัดงานยิ่งใหญ่สมเกียรติ
- สังคมโลก : ทำนายเศรษฐกิจโลก ผลผลิตที่ขยายตัวปี 64 คาดจะเติบโตเพียง 4% ในปีนี้
- วธ.ผลักดันกรุงเทพฯเป็นศูนย์กลางด้านภาพยนตร์ของอาเซียน จัดงานเทศกาลภาพยนตร์อาเซียนแห่งกรุงเทพมหานคร ค
- ปิดฉากงานเทศกาลภาพยนตร์อาเซียนแห่งกรุงเทพฯ ๒๕๖๔ วธ.มอบ 3 รางวัลประกวดภาพยนตร์สั้นอาเซียน และรางวัลปร
- ปากีสถานเตรียมตัวสําหรับการเลือกตั้งสําคัญขณะที่ผู้นําพรรคหนึ่งถูกคุมขัง
- สังคมโลก : โอกาสของราชาผลไม้
- ยังอยู่ในใจเสมอ “ต่าย สายธาร” ทำบุญครบรอบการจากไป 16 ปี “อ๊อฟ อภิชาติ”
- ข่าวคนไทยในออสเตรเลีย วันที่
- สังคมโลก : ห่วงโซ่พหุภาคี