การเปิดเผยข้อมูลพิเศษ : สหรัฐฯ ยืมน้ำโขงจัดการจีน

ข่าวลูกโลก 2022-04-10 06:18:591547ข่าวไทยไทม์Global Times

บทความจาก : Global Times

 image.png

[ Zhao Juejuan , Hu Yuwei และ Bai Yunyi นักข่าวสำนักข่าว Global Times ] แม่น้ำหลานชาง – แม่น้ำโขงเป็นเสมือนสายสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นที่เชื่อมโยงประเทศจีนกับห้าประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ ด้วยความสัมพันธ์อันดีและความร่วมมือระหว่างแม่น้ำหลานชางและแม่น้ำโขงทำให้ชาวตะวันตกเริ่ม “ร้อนใจ” เพียงไม่นานสื่อตะวันตกก็เริ่มเขียนประเด็นโจมตีประเทศจีนในรูปแบบ “ผลลัพธ์” การวิจัยจากสถาบันวิจัยต่าง ๆ เช่น “เขื่อนจีนกักน้ำอื้อทำปลายน้ำโขงแล้งหนัก” และ “จีนสร้างเขื่อนทำให้ประเทศลุ่มแม่น้ำโขงขาดน้ำ” และประเด็นอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งหนึ่งในนั้น โครงการ Mekong Dam Monitor ที่ได้รับทุนสนับสนุนจากกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งนับตั้งแต่เปิดตัวโครงการเมื่อปลายปี 2563  ก็มีการเขียนข่าวโจมตีประเทศจีนอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับ 'ผลกระทบทางอุทกวิทยา' ของเขื่อนจีนที่มีต่อพื้นที่ปลายน้ำโขง  ทั้งนี้ Global Times พบว่า โครงการนี้เป็นความร่วมมือระหว่าง Stimson Center และ Eyes on Earth ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขยาย "ภัยคุกคามเขื่อนของจีน" เหนือความเข้าใจผิดของแม่น้ำโขง โดยมีจุดประสงค์หลักคือ ใช้น้ำในแม่น้ำโขงเป็นอาวุธทำลายความร่วมมือระหว่างจีนและประเทศในลุ่มแม่น้ำโขง

Mekong Dam Monitor” กลายเป็น “หลักฐาน” ใส่ร้ายประเทศจีน

แม่น้ำหลานชาง – แม่น้ำโขงเป็นหนึ่งในแม่น้ำที่สำคัญของทวีปเอเชีย มีต้นกำเนิดมาจากบริเวณที่ราบสูงทิเบตในประเทศจีน โดยไหลจากเหนือลงสู่ใต้ผ่าน 3 มณฑลในประเทศจีน ได้แก่ ชิงไห่  ทิเบต ยูนนาน และไหลผ่าน 5 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ เมียนมาร์  สปป.ลาว  ไทย กัมพูชา  เวียดนาม และไหลลงสู่ทะเลจีนใต้ที่นครโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม รวมความยาวทั้งสิ้น 4,880 กิโลเมตร  แม่น้ำโขงช่วงที่ไหลผ่านประเทศจีนชาวจีนเรียกว่า แม่น้ำหลานชางเจียง” ภูมิภาคแม่น้ำโขงยังเป็นสะพานสำคัญที่เชื่อมประเทศจีนกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ อีกทั้งมีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่สำคัญมาก มีประชากรที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคนี้ราว 326 ล้านคน ภูมิภาคแม่น้ำโขงเป็นภูมิภาคที่มีทรัพยากรน้ำ ทรัพยากรชีวภาพ และทรัพยากรแร่มากมาย ซึ่งมีศักยภาพทางเศรษฐกิจและแนวโน้มการพัฒนาที่ดี โดยประเทศที่อยู่ลุ่มแม่น้ำโขงได้ดำเนินการสร้างเขื่อนและผลิตไฟฟ้าพลังงานน้ำ ซึ่งเขื่อนส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่บริเวณต้นน้ำตอนบนของจีน รวมทั้งหมด 11 เขื่อน และเขื่อนเหล่านี้ได้กลายเป็น "จุดสนใจ" ของนักวิเคราะห์ สถาบันวิจัย องค์กรพัฒนาเอกชน และสื่อต่าง ๆ ภายใต้การนำของ Stimson Center และ Eye of the Earth

โครงการ Mekong Dam Monitor ในความร่วมมือระหว่าง Stimson Center และ Eyes of the Earth ที่เปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ.2563 ได้สร้างแบบจำลองตาม "โครงการริเริ่มเพื่อความโปร่งใสทางทะเลเอเชีย" (Asia Maritime Transparency Initiative) ของศูนย์กลางเพื่อการศึกษาทางยุทธศาสตร์และการระหว่างประเทศ (CSIS) ในกรุงวอชิงตัน เพื่อเข้าแทรกแซงปัญหาทะเลจีนใต้  ซึ่งแพลตฟอร์มการตรวจสอบออนไลน์ของโครงการนี้ นอกจากดาวเทียมแล้ว ยังมีการใช้ระบบสำรวจระยะไกล (Remote Sensing) และการวิเคราะห์ข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS analysis) เพื่อให้ได้ข้อมูลสภาพพื้นที่ในแม่น้ำโขงตามธรรมชาติ กล่าวคือเพื่อประเมินการไหลตามธรรมชาติโดยปราศจากเขื่อนต้นน้ำจีน  แพลตฟอร์มดังกล่าวได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเขื่อน อุณหภูมิ ความชื้น และปริมาณน้ำฝนในลุ่มน้ำโขง และบันทึกการเคลื่อนไหวของอ่างเก็บน้ำขั้นบันไดในแม่น้ำหลานชางของจีน โดยใช้ DMSP ของสหรัฐ ฯ และใช้อัลกอริทึมแปลงข้อมูลระดับน้ำโขงตรงช่วงอำเภอเชียงแสน(สถานีอุทกวิทยาเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เป็นสถานีอุทกวิทยาแห่งแรกเมื่อน้ำโขงไหลออกจากประเทศจีน)  นอกจากนี้ ศูนย์สติมสันยังได้สร้างแพลตฟอร์มการติดตามและตรวจสอบโครงการโครงสร้างพื้นฐานลุ่มน้ำโขงด้วย เพื่อตรวจสอบแหล่งข้อมูลที่ครอบคลุมเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน การขนส่ง และน้ำ

Mekong Dam Monitor ได้เผยแพร่ข้อมูลการติดตามระดับน้ำทางอุทกวิทยาของเขื่อนจีน 11 แห่ง พร้อมกับอัพเดททุกสัปดาห์ แต่ข้อมูลที่ได้มาเหล่านั้นกลับห่างไกลจากความเป็นจริงลิบลับ แต่ข้อมูลที่เผยแพร่นั้นกลับห่างไกลจากความเป็นจริงมาก อีกทั้งไม่สามารถระบุแนวโน้มปริมาณน้ำในท้องถิ่นได้จริงด้วย  ซึ่งเมื่อไปนานนี้ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยชิงหวาได้ทำการศึกษาข้อมูลที่เผยแพร่โดยโครงการ “Mekong Dam Monitor ซึ่งก็เผยให้เห็นถึงข้อผิดพลาดมากมายของโครงการ ตัวอย่างเช่น ข้อมูลการติดตามระดับน้ำในอ่างเก็บน้ำเสี่ยววานที่อยู่ลุ่มแม่น้ำหลานชางทั้ง 3 ช่วงเวลาเมื่อปีพ.ศ. 2563 โดยข้อมูลของโครงการ Mekong Dam Monitor ที่ได้จากวิธีการสำรวจระยะไกลด้วยดาวเทียมกลับได้ข้อสรุปที่ตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิงจากระดับน้ำขึ้นและน้ำลงที่วัดได้จริง ซึ่งข้อผิดพลาดสูงถึง 3 - 10 เมตร นักวิจัยของมหาวิทยาลัยชิงหวาให้ความคิดเห็นว่า โครงการ Mekong Dam Monitor ยังมีข้อผิดพลาดอย่างมากในการติดตามและตรวจสอบระดับน้ำ อีกทั้งสหรัฐ ฯ ไม่สามารถแสดงหลักฐานที่น่าเชื่อถือได้ทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอ่างเก็บน้ำที่มีความยาวและแคบ

ถึงแม้ว่าข้อมูลที่เผยแพร่จะมีการบิดเบือนค่อนข้างมาก แต่เนื่องจากหน้ากากที่เรียกว่า "การวิจัยทางวิทยาศาสตร์" ที่ สหรัฐ ฯ สวมใส่เสมอมา ทำให้ข้อมูลที่ได้จากโครงการ Mekong Dam Monitor ได้รับการยอมรับจากนักการเมืองและสื่อต่างประเทศบางสำนักอีกทั้งนำไปใช้อย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะสื่อที่ต่อต้านจีน เช่น วิทยุเอเชียเสรี และวิทยุเสียงอเมริกา เป็นต้น และยิ่งกว่านั้นสื่อเหล่านี้ยังใช้ข้อมูลและรายงานการติดตามระดับน้ำในแม่น้ำโขงเป็น "หลักฐานที่แข็งแกร่ง" ในการปลุกระดมและสนับสนุนประเด็นต่าง ๆ อย่างเช่น "เขื่อนจีนกักน้ำอื้อทำปลายน้ำโขงแล้งหนัก" เป็นต้น

5 ประเด็น “ห่วงโซ่การโจมตี” ประเทศจีน

โครงการ Mekong Dam Monitor ที่เปิดตัวเมื่อปีพ.ศ.2563 เป็นเพียงการร่วมมือกันของ Stimson Center และ Eyes of the Earth เท่านั้นที่เกี่ยวข้องกับ "สงครามความคิดเห็นของประชาชน" เกี่ยวกับการใช้น้ำในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งเบื้องหลังมันคือ "สมรภูมิรบแม่น้ำโขง"ที่มีการวางแผนมายาวนานและมีโครงข่ายที่กว้างขวาง

Stimson Center เป็นศูนย์รวมความคิดที่ไม่แสวงหากำไรและไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศผ่านการวิเคราะห์และการเผยแพร่ร่วมกัน ก่อตั้งขึ้นในปีพ.ศ. 2532 ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.  โดยในปีพ.ศ.2562 นายไบรอัน อายเลอร์ ผู้อำนวยการโครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของ Stimson Center ได้ตีพิมพ์หนังสือชื่อ Last Days of the Mighty Mekong ซึ่งกล่าวถึงปัญหาท้ายน้ำต่าง ๆ นา ๆ ตั้งแต่ปัญหาการท่องเที่ยวที่ลดลง ตลอดจนความแห้งแล้งในลุ่มน้ำและการปนเปื้อนของน้ำดื่มและการเพิ่มขึ้นของขยะในแม่น้ำ ซึ่งส่วนใหญ่เป็น "อันตราย" ที่เกิดจากการสร้างเขื่อนจีนที่ต้นน้ำในแม่น้ำโขง

image.png 

การตีพิมพ์หนังสือหนา 384 หน้าเป็นจุดเริ่มต้นของการโจมตีจีนอย่างเข้มข้นของศูนย์สติมสันโดยใช้ประเด็นน้ำในแม่น้ำโขง  ซึ่งในความเป็นจริง ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2559 ถึงพ.ศ. 2562 ภายใต้การนำของ Think Tanks สื่อต่างประเทศจำนวนมากได้ตีพิมพ์รายงานอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับภัยที่เกิดจากเขื่อนจีนต้นน้ำในแม่น้ำโขงที่ส่งผลกระทบต่อประเทศปลายน้ำ ซึ่งในตอนนั้นขาดแค่หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ช่วยสนับสนุนข้อกล่าวหาเหล่านี้  ดังนั้นเมื่อ Stimson Center และ Eye of the Earth เข้ามามีบทบาทในส่วนนี้ จึงทำให้มีสิ่งที่เรียกว่า "หลักฐานทางวิทยาศาสตร์" สำหรับปลุกปั่นกระแสและใส่ร้ายประเทศจีน

ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2562 ถึงเมษายน พ.ศ.2563 แม่น้ำโขงประสบภัยแล้งครั้งใหญ่ในรอบศตวรรษ และได้ถือโอกาสนี้รับทุนสนับสนุนจาก "ข้อริเริ่มลุ่มน้ำโขงตอนล่าง (LMI)" โดย "Eye of the Earth" ได้เผยแพร่รายงาน "ติดตามปริมาณน้ำที่ไหลผ่านลุ่มน้ำโขงตอนบนภายใต้สภาวะธรรมชาติ (ไม่มีสิ่งกีดขวาง)" โดยอ้างว่าการสร้างเขื่อนในแม่น้ำโขงตอนบนของจีนส่งผลกระทบต่อระดับน้ำและกระแสน้ำตามธรรมชาติ อีกทั้งกล่าวว่าสาเหตุของภัยแล้งในแม่น้ำโขงในปีพ.ศ. 2562 มาจากการกักเก็บน้ำที่เขื่อนแม่น้ำหลานชางในประเทศจีน ซึ่งทันทีที่รายงานฉบับดังกล่าวถูกเผยแพร่ออกไป ศูนย์สติมสันก็ได้เผยแพร่บทความหนึ่งโดยตั้งชื่อเรื่องว่า " จีนปิดก๊อกแม่น้ำโขงอย่างไร?" บนเว็บไซต์ เมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ.2563  ซึ่งไม่เพียงแต่สนับสนุนบทสรุปในรายงานของ Eye of the Earth เท่านั้น แต่ยังเสนอประเด็นอื่น ๆ อีกมากมายที่เป็นการโจมตีประเทศจีน ตัวอย่างเช่น "เขื่อนจีนหยุดการเพิ่มขึ้นของน้ำที่จุดวัดระดับน้ำอำเภอเชียงแสน (ประเทศไทย) ในช่วงฤดูฝนปี 2562 ยาวนานกว่า 6 เดือน" และ "จีนถือว่าทรัพยากรน้ำเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ มากกว่าทรัพยากรที่สามารถแบ่งปันอย่างเท่าเทียมกันกับประเทศปลายน้ำ" เป็นต้น  และตั้งแต่นั้นมา ศูนย์สติมสันยังได้ตีพิมพ์บทความ  "หลักฐานใหม่: วิทยาศาสตร์ชี้ให้เห็นว่าเขื่อนจีนกำลังทำลายแม่น้ำโขง" ใน "นโยบายการต่างประเทศ" ของสหรัฐอเมริกา โดยกล่าวหาว่าจีนทำลายแหล่งน้ำในแม่น้ำโขงตอนล่างอีกด้วย

แม้ว่า Australian-Mekong Partnership for Environmental Resources and Energy Systems (AMPERES) จะชี้ว่ารายงานของ Eye of the Earth มีความคลาดเคลื่อนตามข้อเท็จจริงกับการเลือกข้อมูลตามหลักวิทยาศาสตร์และปัจจัยในรูปแบบที่น้อยเกินไป ซึ่งนำไปสู่ข้อสรุปที่ไม่ถูกต้อง  แต่เนื่องจากรายงานดังกล่าวได้ให้ “ข้อมูลสนับสนุน” ในการสร้างกระแสทรัพยากรน้ำในแม่น้ำโขง ทำให้นักการเมืองและสื่อของสหรัฐ ฯ ให้ความสนใจกับรายงานดังกล่าวมาก  ทั้งนี้ นายไมเคิล ปอมเปโอ อดีตรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐ ฯ เคยประกาศว่าผลการรายงานของ Eye of the Earth ช่างน่าตกใจยิ่งนัก  และเขายังกล่าวหาโดยไม่มีหลักฐานอีกว่า "การดำเนินงานของเขื่อนจีนในต้นน้ำโขงเป็นตัวการในการเปลี่ยนแปลงกระแสน้ำของแม่น้ำโขง ก่อให้เกิดผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของผู้คนหลายสิบล้านคนที่ลุ่มน้ำ"

จากการเปิดตัวโครงการ "Mekong Dam Monitor" ปีพ.ศ.2563 ซึ่งเป็นการร่วมมือกันระหว่าง  Stimson Center และ Eyes of the Earth ทำให้"ห่วงโซ่การโจมตี" เริ่มก่อตัวขึ้นด้วย  Global Times พบว่า โครงการ "Mekong Dam Monitor" เป็นเพียง 1 ใน 5 หัวข้อการวิจัยของศูนย์สติมสันที่เกี่ยวข้องกับแม่น้ำโขงเท่านั้น ซึ่งยังมีอีก 4 หัวข้อได้แก่ โครงการสายสัมพันธ์ลุ่มน้ำโขง  โครงการติดตามโครงสร้างพื้นฐานของแม่น้ำโขง  นโยบายแม่น้ำโขง และ ความร่วมมือหุ้นส่วนลุ่มน้ำโขง-สหรัฐ ฯ  ทั้ง 5 หัวข้อข้างต้นนี้ ดำเนินการโดยมี โครงการสายสัมพันธ์ลุ่มน้ำโขงเป็นจุดเริ่มต้น และใช้โครงการติดตามโครงสร้างพื้นฐานของแม่น้ำโขงเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล  จากนั้นจึงสร้าง "หลักฐานทางวิทยาศาสตร์" ผ่านโครงการ " Mekong Dam Monitor " เพื่อจัดหาหลักฐานโจมตีประเทศจีนให้กับสหรัฐ ฯ อีกทั้งยังเป็นยุทธศาสตร์ระดับชาติของสหรัฐอเมริกาในการโน้มน้าวประเทศที่ได้รับผลกระทบ

Global Times พบว่า ห่วงโซ่การโจมตีที่เชื่อมโยงกับ Stimson Center และ Eyes of the Earth ได้รับการจัดตั้งขึ้นเพื่อขาย "ภัยคุกคามเขื่อนของจีน" เหนือความเข้าใจผิดของแม่น้ำโขง โดยกลุ่มเครือข่ายส่วนใหญ่ประกอบด้วยสถาบันต่าง ๆ เช่น ฮิวแมนไรท์วอทช์ สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ หน่วยงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งสหรัฐอเมริกา และมูลนิธิเอเชีย  นอกจากนี้ยังมีสื่อต่าง ๆ เช่น เดอะนิวยอร์กไทมส์ และ บีบีซี รวมถึงนักวิชาการสืบสวนอิสระ เช่น หวัง เหว่ยหลัว ผู้เชี่ยวชาญด้านการอนุรักษ์น้ำที่อาศัยอยู่ต่างประเทศ กับ ผศ.ดร.ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ จากมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในประเทศไทย  โดยการเผยแพร่บทความและความคิดเห็นที่มีอคติ ในหัวข้อ "จังหวะที่คดเคี้ยว"

ศูนย์สติมสันยังร่วมมือกับ Think Tank หรือองค์การนอกภาครัฐ เช่น East-West Center ในสหรัฐอเมริกาและ "สำนักข่าวต่างประเทศ" เพื่อส่งเสริมโครงการ Mekong Dam Monitor และคัดเลือก "นักข่าวอิสระ" ในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อให้ทุนและฝึกอบรมนักข่าวในประเทศลุ่มน้ำโขงตอนล่างในการเขียนรายงานสืบสวนเกี่ยวกับข่าวเกี่ยวกับน้ำในแม่น้ำโขง เช่น ความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการสร้างเขื่อน โดยนักข่าวแต่ละคนที่เข้าร่วมในโครงการจะได้รับเงินช่วยเหลือ 3,000 ดอลลาร์

จงใจสร้าง "สงครามความคิดเห็นประชาชนลุ่มน้ำโขง"

ไม่ว่าจะเป็น Stimson Center , Eyes of the Earth หรือนักการเมือง สื่อ และองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง จุดประสงค์หลักในการปลุกกระแสเรื่องน้ำในแม่น้ำโขง ไม่ใช่เพราะเป็นห่วงเรื่องการพัฒนาประเทศหรือสวัสดิภาพของประชาชน แต่เพราะต้องการปกป้องผลประโยชน์ของสหรัฐในภูมิภาคนี้

ในช่วงต้นทศวรรษ 1950 สหรัฐอเมริกาเริ่มเข้าแทรกแซงกิจการภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ในปีพ.ศ.2533 เมื่อมีการจัดตั้งกลไกความร่วมมือทางเศรษฐกิจอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงระหว่างจีนและประเทศลุ่มแม่น้ำโขง และการพัฒนาการอนุรักษ์น้ำและพลังน้ำของจีนในแม่น้ำหลานชาง สหรัฐอเมริกาเริ่มให้ความสนใจกับปัญหาทรัพยากรน้ำในแม่น้ำโขง โดยในปีพ.ศ. 2552 ฝ่ายบริหารของโอบาม่าได้ฟื้นฟูแม่น้ำโขงให้กลับมา "มีชื่อเสียง" อีกครั้ง ในบริบทของ "การกลับสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้" และในปีเดียวกันนั้น ยังได้ก่อตั้ง "ริเริ่มลุ่มน้ำโขงตอนล่าง (Lower Mekong Initiative - LMl)" ร่วมกับลาว ไทย กัมพูชา และเวียดนาม และในปีพ.ศ.2555 สหรัฐอเมริกาได้รวมเมียนมาร์เข้ากับโครงการอย่างเป็นทางการ  หลังจากที่จีนและประเทศลุ่มแม่น้ำโขงเปิดตัว "กลไกความร่วมมือหลานชาง-แม่น้ำโขง" อย่างเป็นทางการในเดือนมีนาคม พ.ศ.2559 สหรัฐ ฯ ก็เริ่มปรับ "ยุทธศาสตร์แม่น้ำโขง" แบบมุ่งเป้า โดยให้น้ำเป็นอันดับแรกในความคิดริเริ่มลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง  ต่อด้วยการโฆษณาชวนเชื่อ เช่น "ภัยคุกคามจากเขื่อนจีน" และ "การทำลายสิ่งแวดล้อมของจีน" เป็นต้น  ในปีพ.ศ.2563 ฝ่ายบริหารของทรัมป์ได้จัดตั้ง "ความร่วมมือหุ้นส่วนลุ่มน้ำโขง-สหรัฐ ฯ" กับ 5 ประเทศในลุ่มแม่น้ำโขงและสำนักเลขาธิการอาเซียน  แม้ว่าการลงทุนจำนวนมากในโครงการทรัพยากรน้ำในแม่น้ำโขงระหว่างรัฐบาลของทรัมป์จะน้อยกว่าในของโอบาม่า  แต่ก็ได้เปิดฉาก "สงครามความคิดเห็นประชาชนลุ่มน้ำโขง" ที่มีต้นทุนต่ำกับจีน และในช่วงเวลานี้เองที่ Stimson Center และ "Eye of the Earth" เริ่ม "เข้าสู่เวที"

ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ไพรซ์โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ ฯ กล่าวว่าฝ่ายบริหารของไบเดนจะยังคงใช้เครื่องมือตรวจสอบต่าง ๆ ที่ได้รับทุนและจัดตั้งขึ้นโดยฝ่ายบริหารของทรัมป์ และยังคงให้ความสนใจกับทุกย่างก้าวของจีนในแม่น้ำโขงตอนบน  ในระหว่างที่ กมลา แฮร์ริส รองประธานาธิบดีสหรัฐ ฯ เยือนสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2564 ประกาศว่า "ความร่วมมือหุ้นส่วนลุ่มน้ำโขง-สหรัฐ ฯ" เป็นส่วนสำคัญของการดำเนินการตาม "ยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิก" ของสหรัฐ ฯ และเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการควบคุมจีน

จากข้อมูลทางสถิติ ชี้ให้เห็นว่า ตั้งแต่ปี 2552 - 2564 รัฐบาลสหรัฐ ฯ บริจาคเงินกว่า 4.3 พันล้านดอลลาร์ในระดับทวิภาคีและระดับภูมิภาคให้แก่หุ้นส่วนในลุ่มแม่น้ำโขง  ซึ่งในจำนวนนี้เกือบ 4 พันล้านดอลลาร์มาจากกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ ฯ และหน่วยงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ และเงินส่วนใหญ่นำไปมอบให้กับองค์กรที่ไม่ใช่องค์กรของรัฐ หรือ NGOs หลายแห่ง

วิธีการและแผนงานของ "สงครามความคิดเห็นประชาชนลุ่มน้ำโขง" ที่ก่อตั้งขึ้นโดยสหรัฐอเมริกาเป็นที่รู้จักกันดี ซึ่งก็สร้างความขุ่นเคืองให้กับประเทศที่เกี่ยวข้อง โดยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา หน่วยงานอนุรักษ์น้ำของ 6 ประเทศลุ่มแม่น้ำโขงได้พยายามเน้นย้ำให้มีการปรึกษาหารือ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และความร่วมมือโครงการ เพื่อสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกันพร้อมกับยกระดับความร่วมมือทางทรัพยากรลุ่มแม่น้ำโขง ทั้งนี้โฆษกกระทรวงการต่างประเทศของประเทศจีนก็เคยโต้ตอบประเด็นที่เกี่ยวข้องอยู่หลายครั้งเช่นกัน แต่อย่างไรก็ตาม สหรัฐ ฯ ยังคงปลุกกระแสประเด็นทรัพยากรน้ำในแม่น้ำโขงอย่างต่อเนื่องในปี 2562 ซึ่งเป็นการจงใจสร้างประเด็นร้อนเพื่อบ่อนทำลายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่อยู่ในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงรวมถึงบรรยากาศความร่วมมือระหว่างแม่น้ำหลานชาง-แม่น้ำโขงด้วย

image.png 

จางลี่ ผู้ช่วยนักวิจัยในโครงการ "หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง" และสถาบันธรรมาภิบาลโลกจากมหาวิทยาลัยฟูตัน ได้บอกกับ Global Times ว่า ขณะนี้ สหรัฐอเมริกาได้ยกระดับ "สงครามความคิดเห็นประชาชนลุ่มน้ำโขง" จากที่เป็นเพียงเขตเศรษฐกิจและนิเวศวิทยาในระยะแรกสู่การเป็นส่วนสำคัญของ "ยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิก" อีกทั้งยังขอความช่วยเหลือจาก Think Tank สื่อสารมวลชน และองค์กรพัฒนาเอกชนด้วย ซึ่งเรียกได้ว่าเป็น "คลื่นความถี่สามเท่า" ที่พร้อมโจมตีประเทศจีน นอกจากนี้สหรัฐ ฯ ยังเพิ่มความรุนแรงใน "ประชาชนที่ต่อต้านจีน" ด้วย  สหรัฐ ฯ ตระหนักดีว่า แค่โครงการ "ความริเริ่มลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง"และ "ความร่วมมือหุ้นส่วนลุ่มน้ำโขง-สหรัฐ ฯ" ยังไม่เพียงพอต่อการพัฒนากลไกนี้  ในอีกด้านหนึ่งสหรัฐ ฯ เองก็ต้องการควบคุมประเทศจีน โดยการทำให้ "ทรัพยากรน้ำในแม่น้ำโขง" กลายเป็นปัญหาระดับสากล  จางลี่ ยังกล่าวอีกว่า การที่สหรัฐ ฯ เปลี่ยนแม่น้ำโขงให้เป็น "สมรภูมิรบระหว่างจีน-สหรัฐ ฯ " เป็นสิ่งที่อยู่นอกเหนือผลประโยชน์ร่วมกันของหกประเทศในลุ่มน้ำโขง และยิ่งกว่านั้นคือไม่ได้ช่วยแก้ไขปัญหาทรัพยากรน้ำเลย


Comment:

Comment record:

Visitor 2022-04-11 20:35:14

สหรัฐต้องการควบคุมจีนโดยทำให้ 'น้ำโขง' เป็นปัญหาระดับโลก reply

Visitor 2022-04-10 21:32:29

เป้าหมายคือการต่อต้านอำนาจที่กำลังเติบโตของจีน reply

Visitor 2022-04-10 14:24:46

สหรัฐอเมริกาได้ทำสิ่งเลวร้ายมากมายในช่วงหลายปีที่ผ่านมา reply

ลิขสิทธิ์ ข่าวไทยไทม์ สงวนลิขสิทธิ์