ปิดฉากงานเทศกาลภาพยนตร์อาเซียนแห่งกรุงเทพฯ ๒๕๖๔ วธ.มอบ 3 รางวัลประกวดภาพยนตร์สั้นอาเซียน และรางวัลปร
ปิดฉากงานเทศกาลภาพยนตร์อาเซียนแห่งกรุงเทพฯ 2564 วธ.มอบ 3 รางวัลประกวดภาพยนตร์สั้นอาเซียน และรางวัลประกวดโครงการภาพยนตร์อาเซียน 3 รางวัล แลกเปลี่ยนร่วมมือด้านศิลปวัฒนธรรม-ภาพยนตร์ สร้างรายได้เข้าประเทศและเป็นศูนย์กลางด้านภาพยนตร์ระดับแนวหน้าของเอเชีย
วันที่ 13 ธันวาคม 2564 เวลา 19.00 น. นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม(รมว.วธ.) เป็นประธานในพิธีปิดงานเทศกาลภาพยนตร์อาเซียนแห่งกรุงเทพมหานคร ๒๕๖๔ (Bangkok ASEAN Film Festival 2021) ครั้งที่ 7 และพิธีมอบรางวัลผู้ชนะการประกวดภาพยนตร์สั้นอาเซียน ASEAN SHORT FILM COMPETITION และรางวัลผู้ชนะการประกวดโครงการสร้างภาพยนตร์อาเซียน SEAPITCH 2021 พร้อมกันนี้รมว.วธ.ได้มอบรางวัล SEAPITCH Award โดยมีนายประสพ เรียงเงิน รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นายชัยพล สุขเอี่ยม ผู้ตรวจราชการกระทรวงวัฒนธรรม ทูตานุทูตจากประเทศต่างๆ ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม กรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ นายธนกร ปุลิเวคินทร์ ประธานสมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ คณะกรรมการจัดงานเทศกาลภาพยนตร์ฯ น.ส.พิมพกา โตวิระ Programming Director นักแสดง ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวไทยและต่างประเทศ ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วม ณ โรงภาพยนตร์พารากอน ซีนีเพล็กซ์ ชั้น ๕ ศูนย์การค้าสยามพารากอน กรุงเทพฯ
นายอิทธิพล กล่าวว่า รัฐบาลโดยกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ร่วมกับสมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ หน่วยงานรัฐและเอกชน จัดงานเทศกาลภาพยนตร์อาเซียนแห่งกรุงเทพมหานคร 2564 (Bangkok ASEAN Film Festival 2021) ครั้งที่ 7 ระหว่างวันที่ 8 - 13 ธันวาคม 2564 ณ โรงภาพยนตร์ เอส เอฟ เวิลด์ ซีเนม่า และโรงภาพยนตร์พารากอน ซีนีเพล็กซ์ ซึ่งนับเป็นอีกโอกาสที่สำคัญสำหรับบุคลากรและผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ทั้งในประเทศไทยและประเทศสมาชิกอาเซียน รวมถึงประเทศพันธมิตรในเอเชีย ที่จะได้ร่วมมือกันฟื้นฟูและร่วมกันเริ่มต้นใหม่เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมนี้ให้ยั่งยืนต่อไป เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์และวีดิทัศน์ ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560 - 2564) ที่มุ่งใช้มิติวัฒนธรรม
สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศ สร้างรายได้ให้แก่ประเทศไทย และผลักดันให้กรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลางด้านภาพยนตร์ระดับแนวหน้าของเอเชีย โดยงานเทศกาลภาพยนตร์อาเซียน มีกิจกรรมประกอบด้วย การจัดฉายภาพยนตร์คุณภาพ 37 เรื่อง จากประเทศสมาชิกอาเซียน และภาพยนตร์จากประเทศในเอเชีย ได้แก่ จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และอินเดีย ซึ่งทุกเรื่องมีบทบรรยายภาษาไทย - อังกฤษและเข้าชมฟรีทุกเรื่องทุกรอบ โดยแบ่งเป็นภาพยนตร์จัดฉาย ดังนี้ 1. ภาพยนตร์อาเซียนฉายโชว์ (SHOWCASE : ASEAN PLUS) โดยเป็นภาพยนตร์จากประเทศในกลุ่มสมาชิกอาเซียน รวมถึงจีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่นและอินเดีย รวม 12 เรื่อง จัดฉายเรื่องละ 2 รอบ อาทิ ภาพยนตร์แอนิเมชั่นเรื่อง Belle ผลงานของมาโมรุ โฮโซดะ จากประเทศญี่ปุ่น, ภาพยนตร์เรื่องVengeance Is Mine, All Others Pay Cash (Seperti Dendam, Rindu Harus Dibayar Tuntas) ผลงานของ Edwin และภาพยนตร์เรื่อง Yuni ผลงานของ Kamila Andini โดยทั้งคู่เป็นสองภาพยนตร์จากประเทศอินโดนีเซียที่คว้ารางวัลใหญ่จากเทศกาลสำคัญ ๆ ในปีนี้ นอกจากนี้ยังมีภาพยนตร์เรื่อง The Edge of Daybreak (พญาโศกพิโยคค่ำ) ผลงานของไทกิ ศักดิ์พิสิษฐ์ จากประเทศไทย, ภาพยนตร์เรื่อง White Building ผลงานของ Kavich Neang ผู้กำกับคลื่นลูกใหม่จากประเทศกัมพูชา, ภาพยนตร์เรื่อง In Front of Your Face ผลงานภาพยนตร์เรื่องล่าสุดของ Hong Sangsoo ผู้กำกับเกาหลีใต้ระดับแนวหน้า และภาพยนตร์เรื่อง A Night of Knowing Nothing ภาพยนตร์จากผู้กำกับหญิงหน้าใหม่ Payal Kapadia จากประเทศอินเดีย เป็นต้น
นายอิทธิพล กล่าวอีกว่า ขณะเดียวกัน ได้มีการสัมมนาหัวข้อ “IS ASEAN CONTENT READY TO TAKE ON THE WORLD?” ณ อุทยานการเรียนรู้ (TK Park) ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ โดยได้รับความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญทางภาพยนตร์ในระดับนานาชาติ มาร่วมกันวิเคราะห์ให้เห็นถึงสถานการณ์การผลิตคอนเทนต์ของภูมิภาคว่า อนาคตของคอนเทนต์เหล่านี้จะอยู่จุดไหนในวงการภาพยนตร์ระดับโลกและเมื่อวันที่ 10 ธันวาคมที่ผ่านมา มีการสัมมนาหัวข้อ “Going Virtual” ร่วมกับ ACBS (Asia Content Business Summit) ณ อุทยานการเรียนรู้ (TK Park) ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ โดยมีการนำเสนอข้อมูลวิชาการเกี่ยวกับอุตสาหกรรมฯจากประเทศต่าง ๆ อาทิ มาเลเซีย สิงคโปร์ เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน อินโดนีเซีย เกาหลีใต้และฟิลิปปินส์ รวมทั้งการประกาศโครงการของ ACBS กับการรายงานสถานการณ์ของประเทศสมาชิกแนวโน้มของอุตสาหกรรมสารัตถะภายหลังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด -19) และการเสนอโครงการความร่วมมือด้านภาพยนตร์ระหว่างประเทศจากทวีปเอเชีย และในวันอาทิตย์ ที่ 12 ธันวาคม 2564 ณ โรงภาพยนตร์ เอส เอฟ เวิลด์ ซีเนม่า โรงที่ 9 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ SCREENING AND TALK: แนะนำอุตสาหกรรมภาพยนตร์ประเทศมองโกเลีย การแนะนำอุตสาหกรรมภาพยนตร์จากประเทศมองโกเลีย ชมภาพยนตร์สั้นเรื่อง Morin Khuur
(The Horsehead Fiddle) และสนทนาเกี่ยวกับภาพยนตร์ โดย นายโทโมร์ อมาร์ซานา (His Excellency Tumur Amarsanaa) เอกอัครราชทูตมองโกเลียประจำประเทศไทย โดยภาพรวมของงานสัมมนามีผู้ให้ความสนใจเข้าร่วมฟังทั้งในประเทศและต่างประเทศเป็นจำนวนมาก รวมทั้งเสนอให้เพิ่มประเทศภาพยนตร์ที่จะจัดฉายในเทศกาลในปีต่อๆ ไป
นอกจากนี้ กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับภาคีเครือข่ายจัดการประกวดภาพยนตร์สั้นอาเซียน (ASEAN SHORT FILM COMPETITION) โดยในปีนี้มีผู้ชนะการประกวด จำนวน 3 รางวัล ได้แก่ 1.รางวัล BEST ASEAN SHORT FILM ผู้ชนะได้รับโล่รางวัลและเงินสด 2,000 USD คือ How to Die Young in Manila จากประเทศฟิลิปปินส์ 2. รางวัล JURY PRIZE ผู้ชนะได้รับโล่รางวัลและเงินสด 1,000 USD คือ Lemongrass Girl จากประเทศไทย 3. รางวัล SPECIAL MENTION ผู้ชนะได้รับโล่รางวัลและเงินสด 500 USD คือ February 1st จาก ประเทศฝรั่งเศสและประเทศเมียนมา ขณะเดียวกันมีการจัดการประกวดโครงการสร้างภาพยนตร์อาเซียน (SEA PITCH) : SOUTHEAST ASIAN PROJECT PITCH) เพื่อคัดเลือกโครงการสร้างภาพยนตร์ขนาดยาว 8 โครงการ โดยคนทำภาพยนตร์จากภูมิภาค อาเซียนที่มีไอเดียในการผลิตภาพยนตร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งโครงการที่ผ่านการคัดเลือกผู้กำกับและโปรดิวเซอร์จะเข้าร่วมอบรมพิเศษออนไลน์ด้านการนำเสนอโปรเจกต์ (Pitching) กับผู้เชี่ยวชาญระดับนานาชาติ 2 ครั้ง เพื่อเตรียมตัวนำเสนอต่อหน้าคณะกรรมการทรงคุณวุฒิระดับนานาชาติ ทั้งนี้ ผู้ชนะการประกวด จำนวน 3 รางวัล ประกอบด้วย 1.รางวัล SEAPITCH Award ผู้ชนะได้รับโล่รางวัลและเงินสด 5,000 USD ได้แก่ TREMBLE LIKE A FLOWER ปฐมพล เทศประทีป, คัทลียา เผ่าศรีเจริญ, โสฬส สุขุม จากประเทศไทย 2. รางวัล Runner-Up Prize ผู้ชนะได้รับโล่รางวัลและเงินสด 3,000 USD ได้แก่ THE RIVER KNOWS OUR NAME โดย Mai Huyen Chi, Producers: Pedro Román, Lê Chi Janny จากประเทศเวียดนาม Vietnam และ 3. รางวัล SPECIAL MENTION ผู้ชนะได้รับโล่รางวัลและเงินสด 2,000 USD ได้แก่ เรื่อง THE BEER GIRL IN YANGON โดย Sein Lyan, John Badalu จากประเทศเมียนมา
ทั้งนี้ งานเทศกาลภาพยนตร์อาเซียนฯ ในครั้งนี้ยังถือเป็นการช่วยกระชับความสัมพันธ์ระหว่างไทย และประเทศสมาชิกอาเซียน รวมทั้งกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออก ได้แก่ จีน เกาหลี ญี่ปุ่นและอินเดีย ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น และก่อให้เกิดความร่วมมือและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมและภาพยนตร์ระหว่างกันด้วย
ถัดไป: วธ.มอบของขวัญปีใหม่ส่งความสุขแก่คนไทยผ่านกิจกรรมสวดมนต์ข้ามปี กราบสักการะพระพุทธรูปสำคัญ ชมการแสดงศิ
การอ่านที่เกี่ยวข้อง
- ยังอยู่ในใจเสมอ “ต่าย สายธาร” ทำบุญครบรอบการจากไป 16 ปี “อ๊อฟ อภิชาติ”
- ขับเคลื่อนความอัจฉริยะของอุตสาหกรรมมาตรวัดไฟฟ้าในอินเดีย
- ปิดฉากงานเทศกาลภาพยนตร์อาเซียนแห่งกรุงเทพฯ ๒๕๖๔ วธ.มอบ 3 รางวัลประกวดภาพยนตร์สั้นอาเซียน และรางวัลปร
- ปากีสถานเตรียมตัวสําหรับการเลือกตั้งสําคัญขณะที่ผู้นําพรรคหนึ่งถูกคุมขัง
- เลขาธิการอาเซียน ชื่นชมอาคารแสดงประเทศไทย ดีอีเอส จัดงานยิ่งใหญ่สมเกียรติ
- วธ.มอบของขวัญปีใหม่ส่งความสุขแก่คนไทยผ่านกิจกรรมสวดมนต์ข้ามปี กราบสักการะพระพุทธรูปสำคัญ ชมการแสดงศิ
- สังคมโลก : โอกาสของราชาผลไม้
- สังคมโลก : ความเสี่ยงร่วมกัน แผนปล่อยน้ำเสียปนเปื้อนสารพิษ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ
- ผลงานยังไม่เข้าตา หนึ่งปีผ่านมา ‘รองกมลา แฮร์ริส’
- สังคมโลก : ทำนายเศรษฐกิจโลก ผลผลิตที่ขยายตัวปี 64 คาดจะเติบโตเพียง 4% ในปีนี้