สังคมโลก : เกื้อหนุนกัน
ในการให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวซินหัว หนึ่งในสื่อหลักของทางการจีน นายโอ ไอ่ ซุน หัวหน้าที่ปรึกษาของศูนย์วิจัยแปซิฟิกของมาเลเซีย กล่าวว่า นอกเหนือจากผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค ( อาร์เซ็ป ) ซึ่งเป็นข้อตกลงการค้าเสรีที่ใหญ่ที่สุดในโลก อาร์เซ็ปยังเป็นชัยชนะสำหรับนโยบายการค้าพหุภาคี และการผลักดันที่แข็งแกร่งอย่างต่อเนื่องของจีน เพื่อให้การค้าเสรีทั่วโลกมีความครอบคลุมและสมดุล
“จีนเป็นคู่ค้ารายใหญ่ของหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และในภาพรวมถือว่า ภูมิภาคแห่งนี้เป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของจีนด้วย” นักวิเคราะห์มาเลเซียอธิบายว่า “จากความสำเร็จอย่างมากนั้น มันจึงไม่มีเหตุผลอื่นใดที่จะไม่ขยายขอบเขต ให้ครอบคลุมถึงสิทธิทางเศรษฐกิจที่สำคัญอื่น ๆ ในภูมิภาค เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ นิวซีแลนด์ และออสเตรเลียด้วย
เขายังกล่าวอีกว่า สิ่งนี้จะกระตุ้นความพยายามในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลังเกิดโรคระบาด โดยประเทศที่เข้าร่วม ซึ่งช่วยให้สามารถบูรณาการห่วงโซ่อุปทาน มาตรฐานทั่วไป และโครงสร้างพื้นฐานได้ดีขึ้นผ่านโครงการ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ( บีอาร์ไอ ) ที่จีนริเริ่ม ทำให้มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ และเทคโนโลยีระหว่างสมาชิกอาร์เซ็ป
ข้อตกลงทางการค้าดังกล่าวจะเป็นการสาธิตความสำเร็จ และประโยชน์ของความเป็นพหุภาคีเหนือแนวทางการค้าโลก ที่เป็นแบบชาตินิยมจำกัดในวงแคบ ซึ่งจะช่วยพัฒนาประเทศที่พัฒนาน้อย ทำให้เกิดการแบ่งปันความมั่งคั่งอย่างทั่วถึงและสมดุล
“มันไม่สมเหตุสมผลอีกต่อไปที่จะเป็นชาตินิยมและเพียงแค่จำกัดการผลิต การตลาด อยู่เพียงในประเทศ แต่มันสมเหตุสมผลกว่าที่จะกระจายความเสี่ยง ตัวอย่างเช่น ขยายฐานการผลิตไปยังประเทศอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือแม้แต่ประเทศอย่าง ญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ เป็นต้น และในทำนองเดียวกัน ต้องสำรวจตลาดนอกประเทศหรือแม้แต่นอกเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” นายโออธิบาย
“ตอนนี้ อาร์เซ็ป ทำให้สามารถเข้าไปในตลาดจีน ซึ่งเป็นตลาดขนาดใหญ่ได้ รวมทั้งตลาดญี่ปุ่น ตลาดเกาหลีใต้ หรือลงใต้ไปยังออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ได้อีกด้วย” เขากล่าวเสริม
ทั้งนี้ อาร์เซ็ป มีสมาชิก 15 ประเทศ ประกอบด้วย สมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ( อาเซียน ) 10 ประเทศ และคู่เจรจาอีก 5 ประเทศ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. ที่ผ่านมา กับออสเตรเลีย บรูไน กัมพูชา จีน ญี่ปุ่น ลาว นิวซีแลนด์ ไทย สิงคโปร์ และเวียดนาม ตามด้วยเกาหลีใต้ ในวันที่ 1 ก.พ. นี้ ส่วนอินโดนีเซีย มาเลเซีย เมียนมา และฟิลิปปินส์ ยังไม่ได้ร่วมให้สัตยาบันต่อข้อตกลง
ปัจจุบัน อาร์เซ็ป มีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ( จีดีพี ) ของสมาชิกอาร์เซ็ปที่จะมีสัดส่วนรวมกันคิดเป็น 1 ใน 3 ของโลก คิดเป็นมูลค่าสูงถึง 26.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ( ราว 882 ล้านล้านบาท ) ครอบคลุมประชากร 2,200 ล้านคน หรือ 1 ใน 3 ของประชากรโลก และยังเป็นเอฟทีเอแบบพหุภาคีฉบับแรกในประวัติศาสตร์ ที่จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ร่วมลงนามพร้อมกันตั้งแต่ต้น
ถัดไป: วธ.ผลักดันกรุงเทพฯเป็นศูนย์กลางด้านภาพยนตร์ของอาเซียน จัดงานเทศกาลภาพยนตร์อาเซียนแห่งกรุงเทพมหานคร ค
การอ่านที่เกี่ยวข้อง
- ปิดฉากงานเทศกาลภาพยนตร์อาเซียนแห่งกรุงเทพฯ ๒๕๖๔ วธ.มอบ 3 รางวัลประกวดภาพยนตร์สั้นอาเซียน และรางวัลปร
- วธ.ผลักดันกรุงเทพฯเป็นศูนย์กลางด้านภาพยนตร์ของอาเซียน จัดงานเทศกาลภาพยนตร์อาเซียนแห่งกรุงเทพมหานคร ค
- ข่าวคนไทยในออสเตรเลีย วันที่
- สังคมโลก : ทำนายเศรษฐกิจโลก ผลผลิตที่ขยายตัวปี 64 คาดจะเติบโตเพียง 4% ในปีนี้
- วธ.มอบของขวัญปีใหม่ส่งความสุขแก่คนไทยผ่านกิจกรรมสวดมนต์ข้ามปี กราบสักการะพระพุทธรูปสำคัญ ชมการแสดงศิ
- สังคมโลก : ความเสี่ยงร่วมกัน แผนปล่อยน้ำเสียปนเปื้อนสารพิษ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ
- ผลงานยังไม่เข้าตา หนึ่งปีผ่านมา ‘รองกมลา แฮร์ริส’
- UNISOC: MWC2022 ทำให้เราสามารถเชื่อมต่อโลกปัจจุบันไปสู่ยังอนาคต
- ปากีสถานเตรียมตัวสําหรับการเลือกตั้งสําคัญขณะที่ผู้นําพรรคหนึ่งถูกคุมขัง
- สังคมโลก : เกื้อหนุนกัน