สังคมโลก : โอกาสของราชาผลไม้
เหล่าผู้เชี่ยวชาญวงการอุตสาหกรรมเผยว่า การส่งออกสินค้าเกษตรของมาเลเซีย ซึ่งรวมถึงผลไม้ยอดนิยมอย่าง “ทุเรียน” จะได้ประโยชน์มหาศาลจากการบังคับใช้ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (อาร์เซ็ป)
นาย เอ็ดวิน เชียง เลขาธิการสมาคมการพัฒนาอุตสาหกรรมทุเรียนระหว่างประเทศมาเลเซีย ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวซินหัวว่า อาร์เซ็ป จะส่งเสริมการเปิดกว้างตลาด และพื้นที่พัฒนาการเกษตรของมาเลเซีย รวมถึงเสริมสร้างการลงทุนด้านการเกษตร ความร่วมมือระหว่างประเทศระหว่างมาเลเซีย และสมาชิกของความตกลงดังกล่าว ทั้ง 15 ประเทศ ได้แก่ 10 ประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ( อาเซียน ) ร่วมด้วย จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์
นายเชียงให้ความเห็นว่า “การลงนามและอนาคตของอาร์เซ็ป จะนำมาซึ่งประโยชน์และโอกาสการพัฒนาอย่างแน่นอน โดยอาเซียน จีน ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย ล้วนเป็นประเทศเกษตรกรรมสำคัญในหมู่สมาชิกอาร์เซ็ป ซึ่งการดำเนินการครั้งนี้จะช่วยปูทางการพัฒนาเศรษฐกิจการเกษตร และความร่วมมือระหว่างมาเลเซียกับกลุ่มประเทศดังกล่าว”
นายเชียงกล่าวเสริมอีกว่า ยุคทองแห่งการค้าทุเรียนเริ่มต้นขึ้นแล้ว และคาดการณ์ว่าปริมาณการส่งออกทุเรียนจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 50 ภายในปี 2573 ขณะการผลิตทุเรียนสายพันธุ์มูซังคิง (Musang King) อันโด่งดังของมาเลเซียจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า
ขณะเดียวกัน การแข่งขันในตลาดภายนอกที่ได้รับอิทธิพลจากอาร์เซ็ปจะส่งเสริมการพัฒนาการเกษตรในประเทศ รวมถึงปรับเปลี่ยนห่วงโซ่อุตสาหกรรมในภูมิภาคและห่วงโซ่คุณค่าทางการเกษตรด้วย
ด้านนายไมเคิล ไช วูน ชู รองเลขาธิการสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมจีนแห่งมาเลเซีย ระบุว่าอาร์เซ็ปจะกระตุ้นการส่งออกผลิตภัณฑ์การเกษตรทั้งหมดของมาเลเซียไปยังจีน และช่วยยกระดับมาตรฐานการผลิตในท้องถิ่น
นายไชอธิบายว่า อุตสาหกรรมทุเรียนของมาเลเซียดำเนินงานอย่างแข็งขัน เพื่อตอบโจทย์ข้อกำหนดการนำเข้าอันเข้มงวดของจีน ซึ่งถือว่าคุ้มค่าเมื่อพิจารณาตลาดผู้บริโภคในประเทศของจีนที่มีขนาดใหญ่ โดยเฉพาะความต้องการผลไม้เมืองร้อน
อนึ่ง มาเลเซียส่งออกทุเรียนแช่แข็งแบบทั้งลูกไปยังจีนครั้งแรกเมื่อปี 2562 หลังจากได้รับการอนุมัติจากทางการจีน
ทั้งนี้ สตาทิสตา (Statista) ผู้ให้บริการด้านข้อมูลการตลาดและผู้บริโภค เผยว่าจีนนำเข้าทุเรียนสดราว 575.9 ล้านกิโลกรัม เมื่อปี 2563 คิดเป็นมูลค่ากว่า 2,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 76,396.80 ล้านบาท) และมีมูลค่าการนำเข้าทุเรียนสดรายปีระหว่างปี 2560-2563 เติบโตมากกว่าสามเท่า
ถัดไป: ผลงานยังไม่เข้าตา หนึ่งปีผ่านมา ‘รองกมลา แฮร์ริส’
การอ่านที่เกี่ยวข้อง
- สังคมโลก : เกื้อหนุนกัน
- การเปิดเผยข้อมูลพิเศษ : สหรัฐฯ ยืมน้ำโขงจัดการจีน
- สังคมโลก : ความเสี่ยงร่วมกัน แผนปล่อยน้ำเสียปนเปื้อนสารพิษ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ
- สังคมโลก : โอกาสของราชาผลไม้
- ผลงานยังไม่เข้าตา หนึ่งปีผ่านมา ‘รองกมลา แฮร์ริส’
- สังคมโลก : ให้ความสำคัญ เพิ่มความแข็งแกร่งห่วงโซ่อุตสาหกรรม-อุปทาน
- ปิดฉากงานเทศกาลภาพยนตร์อาเซียนแห่งกรุงเทพฯ ๒๕๖๔ วธ.มอบ 3 รางวัลประกวดภาพยนตร์สั้นอาเซียน และรางวัลปร
- UNISOC: MWC2022 ทำให้เราสามารถเชื่อมต่อโลกปัจจุบันไปสู่ยังอนาคต
- วธ.มอบของขวัญปีใหม่ส่งความสุขแก่คนไทยผ่านกิจกรรมสวดมนต์ข้ามปี กราบสักการะพระพุทธรูปสำคัญ ชมการแสดงศิ
- สังคมโลก : ทำนายเศรษฐกิจโลก ผลผลิตที่ขยายตัวปี 64 คาดจะเติบโตเพียง 4% ในปีนี้